27 มีนาคม 2555

เถาวัลย์เปรียง



ชื่อวิทยาศาสตร์     Derris scandens Benth.

ชื่ออื่น     เครือเขาหนัง เถาตาปลา พานไสน

ลักษณะของพืช     ไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ ยอดอ่อนมีขนนุ่ม ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่ หรือรูปวงรี ดอกช่อออกที่ซอกใบ ดอกย่อยรูปดอกถั่ว กลีบดอกสีขาว ผลเป็นฝัก

ส่วนที่ใช้เป็นยา     ราก เถา

สรรพคุณและวิธีใช้    
ราก แก้กระษัยเหน็บชา
เถา ขับปัสสาวะ ถ่ายเส้นเอ็น ถ่ายกระษัย แก้เส้นเอ็นขอด แก้เมื่อยขบ ทำให้เส้นหย่อน แก้ปวด แก้ไข้
แก้ปัสสาวะพิการ แก้โรคบิด แก้โรคหวัด แก้ไอ ถ่ายเสมหะ ขับเสมหะ ถ่ายเสมหะลงสู่คูถวาร ถ่ายอุจจาระ ขับรดู บีบมดลูก

การขยายพันธุ์     การเพาะเมล็ด

สภาพดินฟ้าอากาศ    
เถาวัลย์เปรียงเป็นพืชที่สามารถทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี แต่ถ้าปลูกในที่แห้งแล้งจะพอว่าสามารถออกดอกดก แต่ดอกจะมีขนาดเล็กกว่า ปลูกในที่ชุ่มชื้น
การบำรุงรักษา     เถาวัลย์เปรียงจะแตกเป็นเถาใหม่ออกยืดยาวอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงควรหาไม้มาปักเป็นหลัก หรือปลูกไว้ใกล้ไม้ใหญ่ เพื่อสำหรับให้เลื้อยพันได้

เอกสารอ้างอิง    
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล “สมุนไพร ไม้พื้นบ้าน (2) “ พิมพ์ที่ บริษัท ประชาชน จำกัด กรุงเทพมหานคร 2541 หน้า 290-291

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น