27 มีนาคม 2555

กลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง สมุนไพรเชิงธุรกิจ





ขานรับบัญชียาหลัก

กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้ใช้สมุนไพรเพิ่มเข้าไปในบัญชียาหลักเพื่อใช้ควบคู่ไป กับยาแพทย์แผนปัจจุบันเมื่อปีที่ผ่านมา มีสมุนไพร 5 ตัวเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติแล้วได้แก่ เพชรสังฆาต แก้ริดสีดวงทวาร สหัสธารา แก้ปวดเมื่อย บัวบก (ยาเม็ด)  รักษาแผล ช่วยความจำผู้สูงอายุ  เถาวัลย์เปรียง แก้ปวดเมื่อย มะระขี้นก ลดน้ำตาลในเลือด โดยตั้งเป้าว่าในแต่ละปีจะต้องมีสมุนไพรเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ 5 ตัว
   
ระบบการรักษาทางการแพทย์ที่เปลี่ยนแนวมาเป็นแพทย์ทางเลือกและการรักษาแบบผสมผสาน จึงต้องหันกลับมาดูวัตถุดิบต้นทางว่าพัฒนาไปอย่างไร ชุมชน “บ้านดงบัง” ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 6 ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี เป็นแหล่งที่ปลูกสมุนไพรเป็นธุรกิจ สามารถสร้างรายได้ให้คนในท้องถิ่นไม่ต่ำกว่าเดือนละ 30,000 บาท ที่นี่มีระบบการปลูกสมุนไพร อย่างเป็นระบบ มีแหล่งรับซื้อไปแปรรูปคือโรงพยาบาลเจ้าพระยา อภัยภูเบศร์  จนได้สมุนไพรที่มีคุณค่าทางตัวยาอยู่ครบครัน
   
    นายสมัย คุณสุข ประธานที่ปรึกษากลุ่มสมุนไพรบ้างดงบัง เล่าย้อนว่าเดิมทีชุมชนบ้านดงบังมีอาชีพทำนา ต่อมาได้    ทำสวนไม้ดอกไม้ประดับและปลูกไผ่ตงแต่ประสบปัญหาด้านราคาตกต่ำ เพราะต้องใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงจำนวนมาก ได้ค้นพบ สัจธรรมว่าการทำเกษตรเชิงเดี่ยวไม่ยั่งยืน แถมเป็นหนี้เป็นสิน จนกระทั่งปี 2540-2541 จึงเริ่มมาปลูกสมุนไพรเสริมในสวนผลไม้ ทำเกษตรแบบพอเพี้ยง เมื่อปลูกผสมผสานระบบนิเวศเริ่มกลับมา แมลงไม่มารบกวนพืช  ซึ่งตามวัตถุประสงค์ของชาวบ้านแต่แรกคือทำเพื่อกิน ยึดแนวทางตู้ยาตู้เย็น หมายความว่ามีสมุนไพรและพืชอาหารอยู่ในสวน ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงเพราะเน้นปลูกผสมผสานจนกระทั่งได้รับการติดต่อจากโรง พยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ เพื่อรับซื้อสมุนไพรนำมาสกัดเป็นยาสมุนไพร  จากเดิมชาวบ้านเก็บสมุนไพรจากป่ามาส่งโรงพยาบาลอยู่แล้วเฉลี่ย เป็นรายได้เสริมเดือนละ 1,000 บาท
   
ประธานที่ปรึกษากลุ่มสมุนไพร บ้างดงบัง บอกถึงแนวทางผลิตพืชสมุนไพรว่า ได้จัดตั้งเป็นกลุ่ม ขณะนี้สมาชิกจำนวน 11 ครอบครัว เฉลี่ยแต่ละครอบครัวมีที่ดิน 5 ไร่ปลูกสมุนไพร ผสมผสานจำนวน 13 ชนิด อาทิ ฟ้าทลายโจร เพชรสังฆาต ชุมเห็ดเทศ ลูกยอ ขมิ้นชัน ชะพลู ดอกอัญชัน หญ้าปักกิ่ง เป็นต้น สมุนไพรแต่ละตัวจะมีการตกลงราคาจากโรงพยาบาลก่อนที่จะปลูก โดยมีใบสั่งซื้อจากโรงพยาบาลแจ้งมา สมุนไพรที่เก็บ  ได้จะนำมาล้าง หั่นและอบ ในโรงเรือนควบคุมอุณหภูมิ 45-65 องศาโดยใช้แสงแดด หลังจากได้ที่แล้วไว้ในคลังสมุนไพรเตรียมนำส่งโรงพยาบาล ก่อนที่จะนำสารสำคัญในสมุนไพรไปสกัดเป็นยาและเครื่องสำอาง จะต้องผ่านการตรวจสอบว่ามีสารสำคัญในสมุนไพรเพียงพอหรือไม่ หากสารสำคัญไม่เข้มข้น สมุนไพรเหล่านั้นจะย้อนกลับมาที่ชุมชนเพื่อนำกลับมาทำปุ๋ยหมักใช้กับแปลง สมุนไพรอีกที
   
สมุนไพรระบบปลูกกับสมุนไพรที่หาได้จากป่า ยังมีข้อกังขาว่าตัวยาสำคัญจะเท่าเทียมกันหรือไม่ แต่ถ้าใช้วิทยาศาสตร์ มาตรวจสอบบอกได้ว่าสารสำคัญยังมีมากน้อยขนาดไหน
   
สมัย บอกว่า ข้อจำกัดตรงนี้ทางกลุ่มผู้ปลูกสมุนไพรบ้านดงบังทราบดีและได้หารือกับทางโรง พยาบาล จึงต้องกำหนดให้มีวิธีการตรวจสอบคุณภาพก่อนนำแปรรูป จากการเรียนรู้ร่วมกันทั้งฝ่ายผลิตและฝ่ายแปรรูป ทำให้ล่วงรู้ว่าการเก็บสมุนไพรเพื่อมาใช้งานต้องมีอายุ 3-4 เดือน หรือในพืชที่มีดอกเช่นดอกอัญชัน สังเกตต้นอัญชันต้องออกดอก 30 เปอร์ เซ็นต์ขึ้นไป  มั่นใจได้ว่าตัวยาเข้มข้น ได้มาตรฐานนอกจากอายุของพืชแล้วเรื่องของระบบการปลูก จะเป็นเกษตรอินทรีย์ทั้งหมด ใช้ปุ๋ยหมัก และการปลูกแบบผสมผสานแมลงก็ไม่มารบกวน
   
“ข้อดีเมื่อมีระบบปลูก สมุนไพรเราควบคุม ต่างจากที่จะไปนำมาจากป่า เมื่อเข้าไปครั้งหนึ่งต้องเก็บมาได้จำนวนมาก ไม่สนว่าแก่หรืออ่อนควบคุมวัตถุดิบไม่ได้”
   
ปัจจุบันโรงพยาบาล เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์มียอดสั่งซื้อสมุนไพร เดือนละ 20 ล้านบาท แต่ชุมชนบ้านดงบังผลิตสมุนไพรป้อนได้เดือนละ 4-5 ล้านบาท เฉลี่ยใน 11 ครอบครัวที่เป็นสมาชิกมีรายได้เดือนละ 30,000 บาท โดยเฉพาะฟ้าทลายโจรมีความต้อง การจำนวนมากเพราะกระแสไข้หวัด 2009 ปีที่ผ่านมาผลิตได้ 15 ตัน ทางโรงพยาบาลรับซื้อกิโลกรัมละ 150 บาทแต่ละเดือนมียอดสั่งซื้อเดือนละ 400-500 กิโลกรัม  นอกจากนี้ยังมีดอกอัญชันที่เก็บดอกขาย ได้ทั้งปี เฉลี่ยแล้ว 9 กิโลสดจะได้อัญชัน 1 กิโลกรัม คุณสมบัติด้านสมุนไพรช่วยขับปัสสาวะ บำรุงสายตา และบำรุงเส้นผมนำไปทำแชมพู เมื่อเริ่มต้นปลูก 3 เดือนแรกก็สามารถเก็บดอกขายได้
   
สำหรับเกษตรกรที่จะลงทุนปลูก สมุนไพร ต้องเริ่มจากวิธีคิดก่อน จากรูปแบบของบ้านดงบัง ก่อนที่จะเริ่มปลูกสมุนไพรเริ่มจากทำเพื่อกิน เน้นทำเกษตรอินทรีย์ และที่สำคัญต้องมีแหล่งรับซื้อแน่นอน.

ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น