27 มีนาคม 2555

ใบฝรั่ง



ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Psidium guajava  L.

ชื่อสามัญ :  Guava

วงศ์ :    MYRTACEAE

ชื่ออื่น :  สุราษฎร์ธานี จุ่มโป่, ปัตตานี ชมพู่, เชียงใหม่ มะก้วย, เหนือ มะก้วยกา มะมั่น, แม่ฮ่องสอน มะกา, ตาก มะจีน, ใต้ ยามู ย่าหมู, นครพนม สีดา, จีนแต้จิ๋ว ปั๊กเกี้ย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ขนาดกลาง สูง 3-5 เมตร ผิวเปลือกต้นเรียบเกลี้ยง กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ หนา หยาบ ใต้ท้องใบเป็นริ้ว เห็นเส้นใบชัดเจน ขนขึ้นนวลบาง ใบยาวประมาณ 10 ซม. กว้างประมาณ 6 ซม. ดอกช่อ ช่อหนึ่งมีดอกย่อย 3 - 5 ดอก ดอกเล็ก สีขาวอมเขียวอ่อน กลีบเลี้ยงแข็ง ผล รูปทรงกลม รูปไข่ หรือรูปรี ผิว เกลี้ยง สีเขียว เนื้อในขาว รสหวาน กรอบ ผลสุกสีเหลือง- เขียว มีเมล็ดเล็กๆ แข็งอยู่ภายใน
ส่วนที่ใช้ : ใบเพสลาด ผลอ่อนสด ผลสุก เปลือกต้นสดๆ ราก

สรรพคุณ :
          ฝรั่งมีสารแทนนินอยู่มาก สารนี้มีฤทธิ์ฝาดสมานน้ำมันหอมระเหยในใบฝรั่ง    สารแทนนินในฝรั่งยังยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรค ช่วยสมานท้องและลำไส้ โดยช่วยลดอาการอักเสบของกระเพาะลำไส้ และช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน และยังช่วยอาการเกร็งตัวของลำไส้ ทำให้อาการปวดท้องบรรเทาลงได้ แก้ปวดเบ่ง

    ใบ  -   แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน (ที่ไม่ใช่บิด หรืออหิวาตกโรค)  เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด ใช้ใบ 2-3 ใบเคี้ยวๆ ระงับกลิ่นปาก แก้ฝี เป็นยาล้างแผล ดูดหนองและถอนพิษบาดแผล แก้เหงือกบวม แก้พิษเรื้อรัง แก้ปวดเนื่องจากเล็บขบ แก้แพ้ยุง

    ผลอ่อน - แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน ระงับกลิ่นปาก แก้บิดมูกเลือด มีไวตามินซีมาก เป็นกันหรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด) บำรุงเหงือกและฟัน บำรุงผิวพรรณ

    ผลสุก - มีสารเพ็กตินอยู่มาก ใช้รับประทานเป็นยาระบายได้

    ราก - แก้น้ำเหลืองเสีย เป็นฝี แผลพุพอง แก้เลือดกำเดาไหล

วิธีและปริมาณที่ใช้

    ใช้ฝรั่งแก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน
    วิธีที่ 1 รับประทานสด
    - ใช้ส่วนที่เป็นยอดอ่อนๆ 7 ยอด หรือใบเพสลาด 6-8 ใบ ค่อยๆ เคี้ยวให้ละเอียดทีละน้อย ค่อยๆ กลืน แล้วดื่มน้ำตาม ถ้าเคี้ยวทีละมากๆ จะรู้สึกฝาดขม ถ้าเคี้ยวกับเกลือเล็กน้อย จะช่วยให้รับประทานง่ายขึ้น
    วิธีนี้ได้ผลมาก เพราะรับประทานทั้งน้ำและเนื้อของใบฝรั่งจนหมด ได้ตัวยาครบถ้วน
    - อาจรับประทานผลดิบ ครั้งละ 1-2 ผล โดยเคี้ยวก่อนค่อยกลืนก็ได้
    วิธีที่ 2 ต้มดื่ม
    - ใช้ใบเพสลาด 5-10 ใบ หรือเปลือกต้นสดๆ 1 ฝ่ามือ ใส่น้ำ 2 ถ้วยแก้ว ต้มเดือดนาน 5-30 นาที เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ รับประทานครั้งละ ½ - 1 แก้ว วันละ 2 ครั้งรับประทานตามอาการหนักเบา เวลาดื่มเติมเกลือเล็กน้อยทำให้ดื่มง่ายขึ้น

    วิธีที่ 3 ชงน้ำร้อนดื่ม
    - เอายอดฝรั่ง  7 ยอด หรือใบฝรั่ง 6-10 ใบ ชงกับน้ำเดือด 2 แก้ว ปิดฝาไว้ 15-20 นาที ดื่มครั้งละ 1 แก้ว ดื่มบ่อย ๆ

    วิธีที่ 4 ต้มคั้นเอาน้ำ
    - เอาใบฝรั่ง  6-10 ใบ ตำให้ละเอียด ผสมน้ำสุก 3-5 ช้อนแกง ต้มให้เข้ากัน กรองด้วยผ้าขาว เอาน้ำผสมเกลือเล็กน้อยดื่มจนหมด
    วิธีที่ 5 บดผงรับประทาน
    - ใช้ผลฝรั่งที่เกือบแก่ หั่นเป็นแว่นบาง ๆ ตากแห้งบดเป็นผง รับประทานครั้งละ ½-1ช้อนชา โดยผสมน้ำ วิธีนี้รสชาติดีเด็กดื่มได้ง่าย

     ใช้เป็นยาห้ามเลือด              

    -     ใช้ใบสดล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียดพอกแผลที่มีเลือดออก เลือดจะหยุด

    ช่วยระงับกลิ่นปาก

    -   ใช้ใบสด 3-5 ใบ เคี้ยวและคายกากออกทิ้ง

    เป็นยากันหรือแก้โรคลักปิดลักเปิด ฝรั่งมีไวตามินซีมาก

    -   ใช้ผลโตเต็มที่แต่ไม่สุก รับประทานเป็นผลไม้ จะเป็นผลไม้ที่ช่วยบำรุงเหงือกและ

    ฟัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาท้องลำไส้ไม่ให้ผูก ช่วยบำรุงผิวพรรณ คนที่ชอบเป็นฝีเป็นแผลพุพอง ถ้ารับประทานฝรั่งบ่อย ๆ ก็ช่วยบรรเทาลงไปได้

    หมายเหตุ                                        

           ฝรั่งที่ควรปลูก ควรเป็นฝรั่งขี้นก เพราะมีโรคน้อย มีเพลี้ยแป้งน้อย ดูแลรักษาง่าย ที่สำคัญมีสรรพคุณทางยาที่ดีที่สุด มีไวตามินซีสูงกว่าฝรั่งพันธุ์อื่น ๆ

    สารเคมี

          ใบ  มีน้ำมันหอมระเหย  ซึ่งประกอบด้วย Caryophyllene cineol, นอกจากนี้ยังมี Tannin, sesquiter penoids และ triterpenoid compounds.

          ผล  มี fixed oil 6%  Volatile oil 0.365%  tannin 8-15%  beta-sitosterol, quercetin, Vitamin C (330 mg.%), Arabinose,

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น