6 เมษายน 2555

ต้นสาบเสือ

ลักษณะโดยทั่วไปของต้นสาบเสือ
สาบเสือ เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขามากมายจนดูเป็นทรงพุ่ม [5] ลำต้นและกิ่งก้านปกคลุม ด้วยขนอ่อนนุ่ม ก้านและใบเมื่อขยี้จะมีกลิ่นแรงคล้ายสาบเสือ มีลำต้น สูง 1-2 เมตร ใบเดี่ยวออกจากลำต้น ที่ข้อ แบบตรงกันข้าม รูปรีค่อนข้างเป็นสามเหลี่ยมขอบใบ หยัก ปลายใบแหลม ฐานใบกว้าง เรียวสอบเข้าหากัน สีเขียวอ่อน เส้นใบเห็นชัดเจน 3 เส้น มีขนปกคลุม ผิวใบทั้งสองด้าน ดอกเป็นช่อ สีขาวหรือฟ้าอมม่วง ดอกย่อย 10-35 ดอก ดอกวงนอกบานก่อน กลีบดอก หลอมรวมกันเป็นหลอด ผลขนาดเล็ก รูปร่างเป็น ห้า เหลี่ยมสีน้ำตาลหรือดำ มีหนามแข็งบนเส้นของผล ส่วน ปลายผลมีขนสีขาว ช่วยพยุงให้ผลและเมล็ดปลิวตามลม

สรรพคุณ
สาบเสือมีสรรพคุณทางยามากมายทั้งจากต้น ใบ ดอก ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้

ต้น เป็นยาแก้ ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ แก้บวม ดูดหนอง

ใบ ใบของสาบเสือมีสารสำคัญคือ กระอะนิสิก และฟลาโวนอยด์หลายชนิด เช่น ไอโซซาxxxรานิติน และโอโดราติน นอกจากนี้ยังมีสารพวกน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบไปด้วยสารยูพาทอล คูมาริน โดยสารสำคัญเหล่านี้จะไปออกฤทธิ์ที่ผนังเส้นเลือดทำให้เส้นเลือดหดตัว และนอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ไปกระตุ้นสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวได้เร็วขึ้น ทำให้สามารถห้ามเลือดได้[6]ใช้เป็นยารักษาแผลสด สมานแผล ถอนพิษแก้อักเสบ แก้พิษน้ำเหลือง แก้ตาฟาง แก้ตาแฉะ แก้ริดสีดวงทวารหนัก รักษาแผลเปื่อย

ดอก เป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ชูกำลัง แก้อ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ แก้ไข้
ทั้งต้น เป็นยาแก้บาดทะยัก(ลอกเขามา)http://www.rakbankerd.com/agriculture/wb/show.php?Category=agriculture&No=14384

สรรพคุณทั้งหมดใช้ดีที่สุดคือตอน ที่มีแผลสดขนาดใหญ่เล็กตามลำดับ คือใบสาบเสือห้ามเลือดได้ดีที่สุด นำใบสาบเสือมาขยี้ให้มีน้ำเขียวพอใช้ได้ แต่ตอนสมัยเด็กผมใช้น้ำลาย ได้ผลมาก +555+ แล้วเอามาแปะไปตรงแผล เหลือดจะหยุดไหลทันที แสบอยู่บ้าง 
ข้อดีคือ หลังจากแผลหายแล้ว ไม่มีแผลเป็น  

มีสรรพคุณอีกคือ  ทั้งต้นและใบสาบเสือสามารถให้น้ำหายน้ำเน่าเสียได้  นำทั้งใบและต้นใส่ลงไปแช่ในบ่อน้ำที่เน่า  พอผ่านไป 2-3 สัปดาห์  น้ำก็เริ่มใสขึ้น โดยใช้แทนสารส้มได้ดีทีเดียว ไม่เสี่ยงต่อผิวหนังอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น