23 เมษายน 2555

โลดทะนงแดง



ปัจจุบัน รมช.สาธารณสุขลงพื้นที่ รพ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ พบตำรับยาสมุนไพร "โลดทะนงแดง"แก้พิษงูเห่าได้ผล

ลักษณะที่อยู่
สมุนไพรโลดทะนงแดง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าหนาดคำ นางแซง ตู่เตี้ย ตู่เย็น ข้าวเย็นเหนือ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5-1.5 เมตร จะพบอยู่ในป่าตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก เขตชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ และพบทั่วไปในหลายภาคของประเทศ เนื่องจากการใช้ตำรับยาโลดทะนงแดงแก้พิษงู แมลงสัตว์กัดต่อย เป็นที่ยอมรับของประชาชนในพื้นที่และได้ผลดี

สรรพคุณ
แก้พิษงูเห่า ได้ถึง 100% โดยไม่มีผลข้างเคียงเกิดขึ้น

11 เมษายน 2555

ดีปลี





ชื่อวิทยาศาสตร์
:   Piper retrofractum  Vahl

ชื่อสามัญ :   long pepper

วงศ์ :    Piperaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้เถารากฝอยออกบริเวณข้อเพื่อใช้ยึดเกาะ ใบ เดี่ยวรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 7-10 ซม. สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยอัดกันแน่น แยกเพศ ผล เป็นผลสด มีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง รสเผ็ดร้อน
ส่วนที่ใช้ : ราก เถา ใบ ดอก ผลแก่จัด แต่ยังไม่สุก หรือตากแดดให้แห้ง

สรรพคุณ :

    ราก  -   แก้พิษอัมพฤกษ์ อัมพาต พิษปัตคาด แก้ตัวร้อน แก้พิษคุดทะราดให้ปิดธาตุ แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้  แก้คุดทะราด

    เถา -  แก้พิษงู ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน ปวดท้อง จุกเสียด แก้เสมหะพิการ แก้ลมอัมพฤกษ์ แก้มุตฆาต

    ใบ - แก้ปวดเมื่อย แก้เส้นเอ็น

    ดอก - แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียดแน่นท้อง ขับลมในลำไส้ให้ผายและเรอ แก้หืด ไอ แก้ริดสีดวง คุดทะราด แก้ลมวิงเวียน แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ บำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย แก้ปถวีธาตุ 20 ประการ แก้อัมพาต และเส้นปัตคาด

    ผลแก่จัด - รสเผ็ดร้อน แก้ลม บำรุงธาตุไฟ แก้หืดไอ แก้เสมหะ(หลังเป็นหวัด) แก้หลอดลมอักเสบ ยาขับระดู ยาธาตุ ทาแก้ปวดเมื่อยและอักเสบของกล้ามเนื้อ แก้อาการท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อแน่นจุกเสียด ขับลม บำรุงธาตุ  ใช้ประกอบตำรายาที่ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ธาตุไม่ปกติ (ใช้เป็นยาขับลม แต่ไม่นิยมใช้ โดยมากนำมาเป็นเครื่องเทศ)

วิธีและปริมาณที่ใช้

    อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง และแก้อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากธาตุไม่ปกติ
    โดยใช้ผลดีปลีแก่แห้ง 1 กำมือ (ประมาณ 10-15 ผล) ต้มเอาน้ำดื่ม ถ้าไม่มีผลใช้เถาต้มแทนได้

    อาการไอ และขับเสมหะ
    ใช้ผลแห้งแก่ ประมาณครึ่งผล ฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือเล็กน้อย กวาดคอ หรือจิบบ่อยๆ

    ผลดีปลีแห้งใช้เป็นเครื่องเทศ ประกอบอาหาร มีรสเผ็ดร้อน ขม

สารเคมีที่พบ
        มีน้ำมันหอมระเหย และแอลคาลอยด์ ชื่อ P-Methoxy acetophenone, Dihydrocarveol, Piperine, Pipelatine Piperlongumine, Sylvatine และ Pyridine alkaloids อื่นๆ

8 เมษายน 2555

ไมยราบ

 
ไมยราบ เป็นไม้สมุนไพรชนิดหนึ่งที่นำไปเข้ากับต้นครอบจักรวาล แล้วใช้เป็นยาแก้เบาหวานได้ โดยเอาต้นไมยราบ ทั้งต้นรวมรากแบบสดกับต้นครอบจักรวาลสดเช่นเดียวกัน จำนวนเท่ากัน หั่นเป็นชิ้นตากแห้งนำไปคั่วไฟอ่อน ๆ จนเหลือ ชงกับน้ำร้อนดื่มทุกวัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือดหรือเบาหวานได้ สามารถดื่มได้เรื่อย ๆ ไม่มีอันตรายอะไร

สรรพคุณ
ยาแก้เบาหวาน

6 เมษายน 2555

มะม่วงหิมพานต์

ชือ มะม่วงหิมพานต์

  มะม่วงหิมพานต์เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลำต้นมีความสูง 10-12 เมตร ต้นเตี้ย สยายกิ่งก้านไม่สม่ำเสมอ ใบจัดเรียงเป็นแบบเกลียว ผิวมันลื่น รูปโค้งจนถึงรูปไข่ ความยาว 4-22 เซนติเมตร และกว้าง 2-15 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ส่วนดอกนั้นเกิดจาก ที่ยาวถึง 26 เซนติเมตร แต่ละดอกตอนแรกมีสีเขียวซีด จากนั้นสีสดเป็นแดงจัด มี 5 กลีบ ปลายแหลม เรียว ยาว 7-15 มิลลิเมตร

ประโยชน์ของต้นมะม่วงหิมพานต์
เม็ด นำมากินได้ อร่อยมาก มัน สร้างรายได้ทีเดียว มีราคาสูง
ลูก นั้นเนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ แต่มีรสเปรี้ยว รับประทานได้ทั้งดิบและสุก
- ผลดิบ รับประทานกับเกลือเป็นของกินเล่น บางครั้งออกรสฝาดเล็กน้อย
- ผลสุก สามารถนำไปหมักเป็นไวน์ น้ำส้มสายชู หรือเครื่องดื่มอื่นๆ ได้ ผลมะม่วงหิมพานต์มีส่วนประกอยของแทนนินมาก และเน่าเสียเร็วมาก ด้วยเหตุนี้ โดยทั่วไปจึงมักจะทิ้งผลเทียม หลังจากเก็บเมล็ดออก

สรรคุณ
ยาง มะม่วงหิมพานต์สามารถนำรักษษ หูดขี้ไก่ หูดธรรมดา หูดข้าวสุก โดยนำยางส่วนของใบ ขาว ๆ มาทาบริเวณหูด โดยก่อนทาให้ขูดส่วนที่เป็นก่อน ให้สีขาว ๆ แล้วนำยางขาวมาใส่ให้ทั่วบริเวณนั้น ใส่ไปไม่เกิน 3-4 อาทิตย์ จะหดและหลุดออกมาเอง ไม่มีแผลเป็นมาก เหมือนกับแผลผ่าตัด

ต้นสาบเสือ

ลักษณะโดยทั่วไปของต้นสาบเสือ
สาบเสือ เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขามากมายจนดูเป็นทรงพุ่ม [5] ลำต้นและกิ่งก้านปกคลุม ด้วยขนอ่อนนุ่ม ก้านและใบเมื่อขยี้จะมีกลิ่นแรงคล้ายสาบเสือ มีลำต้น สูง 1-2 เมตร ใบเดี่ยวออกจากลำต้น ที่ข้อ แบบตรงกันข้าม รูปรีค่อนข้างเป็นสามเหลี่ยมขอบใบ หยัก ปลายใบแหลม ฐานใบกว้าง เรียวสอบเข้าหากัน สีเขียวอ่อน เส้นใบเห็นชัดเจน 3 เส้น มีขนปกคลุม ผิวใบทั้งสองด้าน ดอกเป็นช่อ สีขาวหรือฟ้าอมม่วง ดอกย่อย 10-35 ดอก ดอกวงนอกบานก่อน กลีบดอก หลอมรวมกันเป็นหลอด ผลขนาดเล็ก รูปร่างเป็น ห้า เหลี่ยมสีน้ำตาลหรือดำ มีหนามแข็งบนเส้นของผล ส่วน ปลายผลมีขนสีขาว ช่วยพยุงให้ผลและเมล็ดปลิวตามลม

สรรพคุณ
สาบเสือมีสรรพคุณทางยามากมายทั้งจากต้น ใบ ดอก ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้

ต้น เป็นยาแก้ ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ แก้บวม ดูดหนอง

ใบ ใบของสาบเสือมีสารสำคัญคือ กระอะนิสิก และฟลาโวนอยด์หลายชนิด เช่น ไอโซซาxxxรานิติน และโอโดราติน นอกจากนี้ยังมีสารพวกน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบไปด้วยสารยูพาทอล คูมาริน โดยสารสำคัญเหล่านี้จะไปออกฤทธิ์ที่ผนังเส้นเลือดทำให้เส้นเลือดหดตัว และนอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ไปกระตุ้นสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวได้เร็วขึ้น ทำให้สามารถห้ามเลือดได้[6]ใช้เป็นยารักษาแผลสด สมานแผล ถอนพิษแก้อักเสบ แก้พิษน้ำเหลือง แก้ตาฟาง แก้ตาแฉะ แก้ริดสีดวงทวารหนัก รักษาแผลเปื่อย

ดอก เป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ชูกำลัง แก้อ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ แก้ไข้
ทั้งต้น เป็นยาแก้บาดทะยัก(ลอกเขามา)http://www.rakbankerd.com/agriculture/wb/show.php?Category=agriculture&No=14384

สรรพคุณทั้งหมดใช้ดีที่สุดคือตอน ที่มีแผลสดขนาดใหญ่เล็กตามลำดับ คือใบสาบเสือห้ามเลือดได้ดีที่สุด นำใบสาบเสือมาขยี้ให้มีน้ำเขียวพอใช้ได้ แต่ตอนสมัยเด็กผมใช้น้ำลาย ได้ผลมาก +555+ แล้วเอามาแปะไปตรงแผล เหลือดจะหยุดไหลทันที แสบอยู่บ้าง 
ข้อดีคือ หลังจากแผลหายแล้ว ไม่มีแผลเป็น  

มีสรรพคุณอีกคือ  ทั้งต้นและใบสาบเสือสามารถให้น้ำหายน้ำเน่าเสียได้  นำทั้งใบและต้นใส่ลงไปแช่ในบ่อน้ำที่เน่า  พอผ่านไป 2-3 สัปดาห์  น้ำก็เริ่มใสขึ้น โดยใช้แทนสารส้มได้ดีทีเดียว ไม่เสี่ยงต่อผิวหนังอีกด้วย

28 มีนาคม 2555

เถารางแดง



ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : กะเหรี่ยงแดง, เคือก้องแกบ, แสงอาทิตย์, เถาวัลย์เหล็ก, ย่านอีเหล็ก (ไทย) , แสงพระอาทิตย์ (ประจวบ) ,

                       ก้องแกบ, หนามหัน (พายัพ) ,ปลอกแกลบ (บุรีรัมย์) , กะเลียงแดง (ศรีราชา) , ทรงแดง (ใต้)

ชื่อสามัญ : -

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ventilago Calyculata Ful.

วงศ์ : RHAMNACEAE

ลักษณะทั่วไปของสมุนไพร

 ต้น : เป็นพรรณไม้เถายืนต้น ชอบเลื้อยตามต้นไม้และกิ่งไม้

ลำต้น : เป็นเถาเลื้อยกิ่งยักไปทีละข้างแบบซิกแซ๊ก  ผิวของลำต้นหรือเถาเป็นรอยแตกระแหงเป็นร่อง มีสีแดงสลับอยู่น่าดู  เถามีสีเทา

ใบ : จะเป็นสีเขียวรูปไข่ยาว ๆ ตรงปลายใบจะแหลม ริมใบจักตื้น ใบจะมีความยาวประมาณ 14 ซม. และกว้างประมาณ 4-5 ซม. ก้านใบสั้น ลักษณะใบจะมีลักษณะคล้ายใบเล็บมือนาง หรือกระดังงาไทย

การเจริญเติบโต : เป็นไม้ที่เกิดตามป่าโปร่งทั่วไป มีปลูกกันตามบ้านเรือน เรื่อกสวนไร่นา  ตามวัดวาอารามก็มีปลูกกัน

การขยายพันธุ์ : โดยการทาบเถา การตอน

ส่วนที่ใช้ : ใบ และเถา ใช้เป็นยา

สรรพคุณ ของสมุนไพร : ใบ นำไปปิ้งไฟให้กรอบ แล้วใช้ชงน้ำกินต่างน้ำชา เป็นยาขับปัสสาวะ และทำให้เส้นเอ็นในร่างกายอ่อนดี เถา ใช้หั่นตากแดด แล้วนำไปปรุงเป็นยากินรักษาโรคกษัย

กำแพง 7 ชั้น



กําแพงเจ็ดชั้น
ชื่อสมุนไพร : กําแพงเจ็ดชั้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Salacia chinensis L.
ชื่อวงศ์ :  CELASTRACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ต้น กำแพงเจ็ดชั้น เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ลำต้นสีเทา เมื่อตัดตามขวางจะเห็นวงปีเป็นชั้นๆ สีแดงสลับสีขาว ใบ กำแพงเจ็ดชั้น เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูป รี  รูป ไข่ ปลายแหลม หรือมน  ขอบใบหยักหยาบ ดอก กำแพงเจ็ดชั้น  ดอกออกเป็นกลุ่ม หรือช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบ ดอกเล็ก สีเขียวอมเหลือง ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ผล กำแพงเจ็ดชั้น ผลกลมรี ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงหรือแดงอมส้ม เนื้อหุ้มเมล็ดสีขาว มีหนึ่งเมล็ด ออกผลช่วง เดือนเมษายน – มิถุนายน สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ชอบแสงแดดจัด ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด

สรรพคุณ  กำแพงเจ็ดชั้น :
ช่วยบำรุงโลหิต ระบายลมในท้อง เป็นยาระบายสำหรับผู้ท้องอืด ลดอาการปวดเมื่อยตามข้อ